top of page

DPU CADT และการสนับสนุนการศึกษาด้านการบินของไทย

  • Writer: Sathaworn
    Sathaworn
  • May 5, 2023
  • 1 min read

นับตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2454 ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีการนำเครื่องบินมาทำการบินในประเทศไทย ณ สนามม้าสระปทุม (ปัจจุบันคือราชกรีฑาสโมสร) ทำให้ประเทศไทยเล็งเห็นถึงความสำคัญของการบิน และได้จัดตั้งหน่วยบินสำหรับป้องกันประเทศขึ้น เพื่อเป็นการสร้างบุคลากรด้านการบินที่มีประสิทธิภาพให้กับประเทศ ทางกองทัพได้มอบหมายให้ พันตรี หลวงศักดิ์ศัลยาวุธ (สุณี สุวรรณประทีป) ต่อมาคือ พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ ร้อยเอก หลวงอาวุธลิขิกร (หลง สินสุข) ต่อมาคือ นาวาอากาศเอก พระยาเวหาสยานศิลปสิทธิ์ และ ร้อยโท ทิพย์ เกตุทัต ต่อมาคือ นาวาอากาศเอก พระยาทะยานพิฆาต เดินทางไปศึกษาวิชาการบิน ณ ประเทศฝรั่งเศสจนสำเร็จ และ กองทัพอากาศได้ยกย่องท่านทั้งสามเป็น “บุพการีของกองทัพอากาศ” นับตั้งแต่นั้นมา อุตสาหกรรมการบินของไทยมีความเจริญก้าวหน้า และพัฒนาอย่างต่อเนื่องตลอดมาจนถึงปัจจุบัน


มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เป็นหนึ่งในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนชั้นนำของประเทศ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2511 ภายใต้เจตนารมณ์ของ ดร.ไสว สุทธิพิทักษ์ และอาจารย์สนั่น เกตุทัต และด้วยพัฒนาการที่ไม่หยุดยั้ง ในปี พ.ศ. 2558 สภาวิชาการมหาวิทยาลัยได้อนุมัติหลักสูตรศิลปศาตรบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจการบิน และในปี พ.ศ. 2559 หลักสูตรศิลปศาตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีการบิน (หลักสูตร 2 ภาษา ไทย-อังกฤษ) ด้วยทางมหาวิทยาลัยได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ และมีความรู้ด้านวิชาชีพพื้นฐานด้านการบินที่พร้อมจะประกอบอาชีพและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาในอุตสาหกรรมการบิน


วิทยาลัยการพัฒนาและฝึกอบรมด้านการบิน เป็นวิทยาลัยด้านการบินชั้นนำของประเทศ ประกอบด้วยหลักสูตรที่ได้มาตรฐานสากล มีคณะอาจารย์ที่มีประสบการณ์ในอุตสาหกรรมการบินมาอย่างยาวนาน มีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้เป็นอย่างดี และวิทยาลัยฯ มีอุปกรณ์การเรียนการสอนครบครันทันสมัย เพื่อสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับนักศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ


อุปกรณ์ และห้องฝึกปฏิบัติการ

สำหรับใช้ในการเรียนการสอนหลักสูตรธุรกิจการบิน หลักสูตรการจัดการเทคโนโลยีการบิน และหลักสูตรฝึกอบรมมาตรฐาน IATA มีดังนี้

  1. ห้องฝึกปฏิบัติการการบริการบนเครื่องบิน ใช้เครื่องบินแอร์บัส A300-600 (In-flight Service)

  2. ห้องฝึกปฏิบัติการการจราจรทางอากาศ (Air Traffic Controller)

  3. เจ้าหน้าที่อำนวยการบิน (Flight Operation / Flight Dispatcher)

  4. ห้องฝึกปฏิบัติการการบริการภาคพื้นดิน (Ground Service)

  5. เครื่องช่วยฝึกบินจำลอง Flight Simulator (Cessna 172) จำนวน 2 เครื่อง

  6. เครื่องช่วยฝึกบินจำลอง Flight Simulator (Boeing 737-800) จำนวน 1 เครื่อง

  7. ห้องฝึกอบรมตามมาตรฐาน IATA

  8. ห้องฝึกปฎิบัติการดับเพลิงบนเครื่องบิน (Fire Drill)

  9. อุปกรณ์ฝึกการอพยพจากเครื่องบินกรณีฉุกเฉิน (Slide Drill)

  10. อุปกรณ์ฝึกการ Ditching

  11. ห้องฝึกปฏิบัติการการสำรองที่นั่งโดยสารด้วยระบบ AMADEUS

  12. อุปกรณ์ฝึกปฏิบัติการการปฐมพยาบาลเบื้องต้น เช่น หุ่นสำหรับฝึกการทำ CPR และ เครื่องกระตุกหัวใจ (AED)



Comments


BRAINBOOSTED

by Aj. P'O
Wix Cover Photos (4)_edited.png

"เพราะสงสัย จึงได้ค้นหา ความรู้ที่ได้มา จึงขอแบ่งปัน"
ที่ Brainboosted เราเชื่อว่าคำถาม และข้อสงสัยคือจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้

ยิ่งเราสงสัยมากเท่าไหร่ เราก็ยิ่งได้ศึกษาค้นคว้ามากขึ้นเท่านั้น

และเมื่อเราได้ความรู้มาแล้ว สิ่งที่ดีที่สุดคือการส่งต่อ

การแบ่งปันความรู้ การต่อยอดความคิด จะช่วยเปลี่ยนแปลงโลกใบนี้ให้ดีขึ้น
Brainboosted คือพื้นที่แห่งการแลกเปลี่ยน หากคุณมีคำถาม เราจะพยายามหาคำตอบ

ความรู้คือของขวัญ และเราเชื่อว่าการให้คือการรับที่ยิ่งใหญ่ที่สุด

©2023 by Brainboosted. Proudly created with Wix.com

bottom of page