top of page
Writer's pictureSathaworn

Murphy’s Law

  • ถนนเลนข้างๆ เร็วกว่าเลนเรา พอเปลี่ยนเลน เลนเดิมที่เคยอยู่ก็แล่นฉลุย

  • เข้าแถวจ่ายเงินที่ซุปเปอร์ แถวเราสั้น แต่ขยับช้าสุด

  • ติดไฟแดงเป็นคันแรกตลอด

  • ซ้อม present งานเรียบร้อยไม่มีปัญหา ถึงเวลา present จริง คอมเปิดไม่ติดบ้าง จอดับบ้าง

  • นานๆ ซื้อเสื้อผ้าที ซื้อวันนี้ พรุ่งนี้ Sale

  • ซื้อลอตเตอรี่มีแต่เลขเฉียด ไม่เคยตรง ซื้อ 93 ออก 39

และอีกสารพัดความบันเทิงที่เกิดขึ้นกับใครหลายๆ คน จนบางทีแอบคิดว่าต้องทำบุญได้แล้ว จะได้โชคดีบ้าง หรือว่าเราจะเป็นเหมือน Bad Luck Brian


แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ใช่มีแต่เราที่เคยเจอประสบการณ์แบบนี้ คนทั้งโลกเคยเจอกันมาแล้วทั้งนั้นครับ แล้วแถมมีทฤษฎีเรื่องนี้ด้วยนะ เขาเรียกว่า Murphy’s Law


Murphy’s Law


ที่มาของ Murphy’s Law ก็เล่ากันว่ามาจากนาย Edward Murphy ที่มีเนื้อหาที่มาหลักๆ ว่า

“If it can happen, it will happen.”

หรือแปลไทยง่ายๆก็ อะไรจะเกิดมันก็ต้องเกิด นั่นเอง


หลังจากนั้นก็มีการแตกแขนงวลี หรือประโยคที่สอดคล้องกับประโยคหลักด้านบนไปอีกหลายสถานการณ์ ขอยกเด็ดๆ โดยเฉพาะ 2 ประโยคสุดท้าย มาเป็นตัวอย่าง เช่น

  • Nothing is as easy as it looks.

  • Everything takes longer than you expect.

  • Anything good in life is either illegal, immoral, or fattening.

  • If anything can go wrong, it will go wrong (and at the worst possible moment).

อ่านไปแล้ว จะว่าไปก็จริงเหมือนกันนะ อย่างเรื่องกินเนี่ยอะไรที่มันอร่อย มักจะไม่ดีต่อร่างกาย ส่วนของที่ดีต่อร่างกายก็ไม่ค่อยอร่อย แล้วก็แพงด้วย การจะกินคลีนซักมื้อ ค่าใช้จ่ายต่อมื้อแพงกว่าอาหารปกติก็หลายเท่าอยู่ แถมท้ายคือเราก็รู้ว่าไม่ควรกินมื้อเย็น หรือมื้อดึก แต่ของอร่อยมันชอบขายตอนเย็นหนะสิ

IF ANYTHING CAN GO WRONG, IT WILL GO WRONG (AND AT THE WORST POSSIBLE MOMENT).

และประโยคสุดท้ายนี่เด็ดสุด ถือว่าสรุปทุกเหตุการณ์ของ Murphy’s Law เอาไว้ได้ครบถ้วน If anything can go wrong, it will go wrong and at the worst possible moment. อะไรที่มันผิดพลาดได้ มันยังไงก็จะเกิดความผิดพลาดแน่ๆ แถมจะมาตอนที่ไม่ควรเกิดความผิดพลาดที่สุดด้วย เช่น พิมพ์รายงานที่ห้อง Lab คอม อยู่เหลืออีกประโยคเดียวจะเสร็จแล้ว …. ไฟตก วูบนึงแล้วไฟก็มา … เสียงกรี๊ดลั่นบ้าน … ลืมกด save … งานหาย ….




Murphy’s Law และการบิน


ด้านการบิน เราจะปล่อยให้เหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นไม่ได้เด็ดขาด เนื่องจาก ความปลอดภัย ของผู้โดยสาร และบุคลากรเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในอุตสาหกรรมการบิน และธุรกิจการบิน จริงๆ แล้วในวิชา Safety and Security หรือความปลอดภัยและนิรภัยการบิน ที่เราสอนนักศึกษาอยู่นั้น มีอยู่หัวข้อหนึ่งว่าด้วยเรื่องคล้ายๆ Murphy’s Law เหมือนกัน แต่มีหลักการ และมีการสนับสนุนทางงานวิจัย ซึ่งเราเรียกว่า Swiss Cheese Model


Swiss Cheese Model

คือ การว่าด้วยระบบการป้องกันการผิดพลาดขององค์กร ที่มีรูปแบบคล้ายๆมาตรการการป้องกันที่เป็นชั้นๆ เปรียบเหมือนแผ่นของชีส ส่วนรูบนแผ่นชีสแต่ละแผ่นนั้น จะแสดงถึงจุดอ่อน หรือจุดบกพร่องของมาตรการนั้นๆ ในระบบ โดยแต่ละรูบนชีสแต่ละแผ่นจะมีขนาดของรู และตำแหน่งต่างกัน โดยซักวันนึงชีสจะเลื่อนไปมาจนรูบนชีสทุกแผ่นจะเลื่อนมาตรงกัน และทำให้เกิดความผิดพลาด หรือความเสียหายต่อการทำงานได้



โดยปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ในด้านการบิน ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยด้านมนุษย์ อุปกรณ์ เทคโนโลยี หรือการสื่อสาร จะถูกนำมาวิเคราะห์และพิจารณาเพื่อแก้ไขและปรับปรุง เช่น จัดให้มีการอบรมพนักงานเป็นประจำ มีการตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆก่อนทำการบิน มีการวางมาตรการ และกฎระเบียบเพื่อป้องกันการก่อการร้ายในการเดินทางทางอากาศ เป็นต้น ในอดีตก็มีอุบัติเหตุหลายเหตุการณ์ที่เกิดจากความผิดพลาดของส่วนต่างๆ บ้างก็จากมนุษย์ บ้างก็จากอุปกรณ์ หรือแม้กระทั่งการสื่อสาร หรือหน่วยวัดของน้ำมันที่สื่อสารผิดพลาด ก็ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุได้

อย่างที่บอก ความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกของธุรกิจการบิน และทั้งอุตสาหกรรมการบิน ดังนั้นเราจะไม่ปล่อยให้เกิดปัจจัยสุ่มเสี่ยงใดๆที่อาจจะทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยในการเดินทาง เช่น หลังจากเหตุการณ์ 9/11 กฎระเบียบด้านการบินก็เข้มงวดมากขี้น มีข้้นตอนการตรวนสอบมากมายก่อนขึ้นเครื่อง และอย่างในช่วง COVID-19 ก็มีมาตรการต่างๆเพิ่มมากขึ้น อาจจะสร้างความไม่สะดวกสบายในการเดินทางเหมือนเมื่อก่อน แต่ทั้งนี้ก็เพื่อความปลอดภัยของทุกคนครับ เพราะ Murphy’s Law กำลังรอจังหวะอยู่ตลอดเวลานั่นเอง


Comments


bottom of page